มาทำความรู้จัก Kotlin แล้วการเริ่มเขียนแอพก็จะไม่ยากเกินมือคุณ!

ถ้าเราต้องการเขียนแอพขึ้นมาสักแอพ ก็ต้องเลือกภาษาสักอันมาเขียนสิ่งที่คุณต้องการให้เป็นจริง มีภาษามากมายที่ให้เลือกใช้ แต่ว่าถ้าคุณอยากเจอภาษาที่เป็นแบบไหนหละ หลากหลาย ซับซ้อน เรียบง่าย สะอาดตา ลูกเล่นแพรวพราว จะใช้ Java, C++ หรือ Kotlin ในภาษาข้างต้น Kotlin กลายเป็นตัวเลือกที่ผู้พัฒนานิยมเลือกใช้ ด้วยข้อดีของตัวภาษา

จะเริ่มต้น หรือเริ่มต่อ แบบไหนก็ทำได้ง่าย

การเลือกใช้ Kotlin นั่นคือคุณกำลังมาถูกทางแล้ว มันคือภาษาที่กระชับ และอ่านง่าย ทำให้ผู้ที่ศึกษาทำความเข้าใจได้ง่ายตามไปด้วยในระดับนึง และด้วยความที่ Kotlin ถูกสร้างมาเพื่อแทนภาษา Java ที่เป็นที่นิยมในการพัฒนาแอพพลิเคชันแอนดรอยด์อยู่แล้วให้ดีขึ้น แต่ยังใช้งานร่วมกับภาษา Java เดิมได้ ผู้ที่เขียนมาก่อนจึงปรับเปลี่ยนปรับตัวได้ไม่ยาก 

 

คลังข้อมูลมหาศาล 

ผู้เริ่มที่ใหม่ หรือเคยผ่าน Java มาก่อนก็ยังสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ หรือนำวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีในอินเตอร์เนตของภาษา Java มาปรับใช้ได้ และคุณสมบัติพิเศษที่สุดยอด ของ IntelliJ จะทำให้คุณนำโค๊ดของภาษานั้น มาแปลงเป็น Kotlin ได้ในพริบตา ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานได้อย่างมาก นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการใช้ library ต่างๆของ Java

ตัวอย่างความกระชับของ Java (ซ้าย) และ Kotlin (ขวา)

ความดีงามของ Kotlin

ถ้าจะให้ยกตัวอย่าง คุณอาจจะเคยเขียน Java มาก่อนน่าคุ้นเคยกับปัญหาเล็กๆน้อยๆ อาทิ 

NullPointerExceptions แต่ถ้าไม่ จะอธิบายง่ายๆ มันคือการที่เราไม่ได้กำหนดค่าตัวแปร แต่นำตัวแปรที่ไม่มีค่านั้นไปใช้ในส่วนต่างๆของโปรแกรม โดยไม่ได้มีการตรวจสอบ แต่ Kotlin มี Null-Safety สามารถกำหนดให้ชัดเจนว่าจะ null ได้หรือเปล่า โดยการกำหนดง่ายๆ แค่เติม “?” ก็สามารถช่วยได้ในระดับนึง 

การประกาศตัวแปร  ด้วยความฉลาดของภาษาในการอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างการทำ Smart Casts คือการกำหนดชนิดของตัวแปรให้เราอัตโนมัติ โดยเราจึงไม่จำเป็นต้องกำหนดชนิดของตัวแปรอย่างชัดเจนก็ได้

การเขียนโค๊ดที่ยุ่งเหยิงให้ดูง่ายด้วยการเขียน Lambda Expressions ช่วยเพิ่มความกระชับที่ลดการเขียนโค๊ดลงได้เยอะมากๆ  รวมทั้งดูสะอาด และน่าอ่านมากขึ้น อีกทั้งยังไม่ต้องมี “;” ที่เป็นปัญหายิบย่อยที่นักพัฒนาชอบลืมเป็นประจำ นี่ก็เป็นตัวอย่างความสามารถเล็กๆน้อยๆที่ Kotlin รองรับ แต่ถ้าคุณคิดว่ามันยังไม่พอละก็ วันนี้มีสิ่งที่จะทำให้คุณอยากเรียนรู้มันแน่นอนในหัวข้อถัดไป

 

การพัฒนาที่ไม่ได้อยู่แค่ที่ Android 

ยินดีต้อนรับ Kotlin สู่การ Cross Platform เขียนครั้งเดียวใช้ได้ทั้ง Android และ iOS เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีเครื่องมือที่เรียกว่า Kotlin Multiplatform Mobile ในการเขียนโค๊ดส่วน Business Logic มาใช้งานร่วมกัน แต่การจัดการ User Interface ยังแยกกัน อย่างส่วนของ iOS ยังคงใช้ Swift และ SwiftUI ในการพัฒนา โดยการทำงานร่วมกันจะอยู่ในส่วนของ Common Main แต่ถ้าอยากทำฟังก์ชันเฉพาะเจาะจงของแต่ละแพลทฟอร์ม เราก็สามารถเขียนแยกกันได้ สิ่งที่น่าจะเป็นตัวที่ทำให้มันแตกต่างจากภาษา Cross Platform อื่นๆ คือคุณอาจจะไม่ต้องไปเรียนรู้ใหม่ อีกทั้งด้วยความเข้าใจง่ายของตัว Kotlin เอง ยังรวมไปถึง library ต่างๆ ที่สนับสนุนในภาษามากกว่า ซึ่งตอนนี้ตัว Kotlin Multiplatform Mobile ยังเป็น Alpha Test แต่ก็ยังมีการนำไปใช้งานในหลายๆ บริษัทอาทิเช่น Autodesk และ Netflix เป็นต้น

 

อยากเรียนรู้แล้วละสิ ทำยังไงต่อดี?

หากเป็นผู้เริ่มต้นสามารถเริ่มจากการเรียนรู้ผ่านแบบฝึกหัดง่ายๆ ที่ Kotlin Examples: Learn Kotlin Programming By Example แต่ถ้าคุณเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การเขียน ภาษาอื่นๆมาก่อน รับรองว่าคุณจะเข้าใจมันได้ไม่ยาก

 

สรุป 

Kotlin เป็นภาษาที่น่าสนใจในการนำมาพัฒนาแอพลิเคชันด้วยความง่ายในการเข้าใจ library ที่มีให้ใช้มากมาย อนาคตในการนำมา Cross Platform อีกทั้งตัวภาษายังได้รับการซัพพอร์ทจาก Google ทำให้เป็นตัวเลือกที่ลงตัวที่สุดในการสร้างแอพพลิเคชันของคุณ



Related Articles

See All Post
Loading