OKRs ก่อนไม่รอแล้วนะ!

ก้าวเข้าสู่ปี 2019 มา สิ่งแรกที่พวกเราชาวคลิกเน็กซ์เริ่มต้นทำกันตั้งแต่ต้นปีก็คือ “OKRs” หรือ Objective & Key Results ซึ่งเป็นวิธีการประเมินผลงานแบบใหม่ที่เรารู้สึกว่ามันจะท้าทายความสามารถของพวกเรามากขึ้น เหมือนเป็นการเล่นเกมเพื่อเอาชนะเป้าหมายของเราให้ได้!!

OKRs ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับเราพอสมควร ตั้งแต่การเริ่มต้นวางเป้าหมาย, หาวิธีการ และวิธีวัดผล ทุกอย่างเป็นของใหม่หมด แล้วการใช้ OKR มันจะดีกับบริษัทยังไง มันจะพัฒนาตัวเราให้ก้าวหน้ามากขึ้นยังไงล่ะ? เราจะมาเล่าให้ฟัง

 

OKRs คืออะไร?

OKRs หรือ Objective & Key Results คือ การตั้งเป้าหมายขององค์กร และทีมงานทุกส่วน พร้อมคิดวิธีการทำให้เป้าหมายนั้นสัมฤทธิ์ผล ว่ากันง่ายๆ ก็คือ การตั้งเป้าหมายว่าเราอยากได้อะไร (What) แล้วคิดหาวิธีการทำมันให้สำเร็จ (How) ขึ้นมาให้ได้

วิธีการวัดเป้าหมายแบบ OKRs จะมีการไล่ระดับลงมาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน คือ OKRs ระดับองค์กร > OKRs ระดับทีม > OKRs ระดับบุคคล ยกตัวอย่างเป้าหมายของ Google ที่เคยใช้ตอนจะพัฒนา Google Chrome ก็คือ

Objective : จะต้องสร้างเบราว์เซอร์ยุคใหม่ออกมาสู่ตลาดให้ได้

Key Result 1 : ใน 1 สัปดาห์จะต้องมีผู้ใช้งาน (Active User) จำนวน 20 ล้านคน

หลังจากที่ Google ตั้ง OKR หลักของ Product เอาไว้แล้ว แต่เมื่อพัฒนาไปเรื่อยๆ Objective ตัวนี้ยังไม่ประสบผลสำเร็จ จึงทำให้ทีมพัฒนาตั้ง OKRs รองของทีมขึ้นมาคือ

Objective : ทำให้แอปพลิเคชั่นต่างๆ บน Chrome ใช้งานได้รวดเร็วเหมือนอยู่บนหน้า Desktop

เมื่อได้ OKRs รองออกมาแบบนี้ ทีมพัฒนาสามารถพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ และความเร็วในการใช้งานแอปพลิเคชั่นบน Chrome ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น จนสุดท้ายแล้ว Google Chrome ก็มียอดผู้ใช้เกิน 20 ล้านคน/สัปดาห์ ภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งก็ถือเป็นการพิชิต OKRs ได้สำเร็จลุล่วง

ดังนั้น เมื่อเราได้ OKRs ขององค์กรมาตามนี้ ทีมงานแต่ละฝ่ายก็ต้องไปคิด OKRs ของฝ่ายตัวเองที่จะสร้างผลลัพธ์ให้สอดคล้องกับ OKRs ขององค์กรอีก ซึ่งเมื่อได้ OKRs ของทีมแล้ว คนในทีมทุกคนก็ต้องมี OKRs ของตัวเองเพื่อทำให้เป้าหมายของทีมที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จได้

วิธีการวัดเป้าหมายแบบ OKRs จะเชื่อมโยงการทำงานทุกส่วนเข้าด้วยกัน ทั้งแบบ Top-Down และ Bottom-to-Top เพราะการทำงานของทุกคนตาม OKRs ที่วางไว้จะส่งผลไปถึงเป้าหมายใหญ่ของบริษัทได้ในที่สุด

 

ทำไมที่นี่ถึงเลือกใช้ OKRs?

ด้วยความที่เป้าหมาย และวิธีการที่วางกันไว้ใน OKRs จะส่งผลในภาพรวมต่อการทำงานทั้งหมด ดังนั้น OKRs จะช่วยให้ทุกคนในบริษัทมองภาพที่สอดคล้องกัน และจะส่งผลให้เป้าหมายที่วางไว้จะสำเร็จได้ในที่สุด ที่สำคัญคือเป้าหมาย+วิธีการที่วางไว้ จะช่วยให้ทุกคนจัดลำดับความสำคัญ และรู้หน้าที่ของตัวเองว่าควรทำอะไรก่อนหลัง เพื่อให้งานสำเร็จไปทีละจุด เพราะเราให้ความสำคัญกับคุณภาพของชิ้นงานมากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด

ข้อดีอีกอย่างของ OKRs คือ OKRs สามารถยืดหยุ่นได้มากกว่าตัวชี้วัดอื่นๆ อย่างเช่น ถ้าเราตั้ง Objective + Key Results ไว้แล้ว แต่ทำไปทำมารู้สึกว่ามันไม่ใช่ เราสามารถปรับเปลี่ยนตัว Objective หรือ Key Results ได้ เพราะการทำให้ตัว OKRs ได้ผลจริงๆ ควรกำหนดระยะเวลา (Time Frame) ไว้ในระยะสั้นๆ ประมาณ 3 เดือนกำลังดี ซึ่งถ้าทำไปแล้วไม่รู้สึกว่าดีขึ้น เราจะได้ปรับเปลี่ยนแนวทางได้เร็ว เรียกว่า รู้เร็ว พลาดเร็ว แก้เร็ว สำเร็จเร็ว

 

เพิ่มความท้าทายใหม่ๆ ให้กับ ClickNext ในปี 2019!

จากที่เราได้ present ปล่อยของ ClickNext ส่งท้ายปี 2018 กันไปแล้ว ปีนี้แต่ละฝ่ายวางแผนจะขยับเป้าหมายให้สูงขึ้น ยากขึ้น และท้าทายขึ้น การนำ OKRs มาประยุกต์ใช้กับที่นี่น่าจะเป็นวิธีการที่ตอบโจทย์สำหรับพวกเราทุกคนที่มุ่งมั่น และตั้งใจอยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกๆ ปี ซึ่งแต่ละทีมจะทำผลงานได้อลังการขนาดไหน คงต้องรอดูกันต่อไป



Related Articles

See All Post

เตรียมตัวให้พร้อมกับงาน Thailand e-Commerce Awards 2024 ครั้งแรกของไทย

ครั้งแรกของประเทศไทย กับงานประกาศรางวัลสำหรับธุรกิจ e-Commerce  Thailand e-Commerce Awards 2024 งานประกาศรางวัลสุดยิ่งใหญ่ ที่มอบรางวัลให้กับธุรกิจหรือหน่วยงานที่มีผลงานยอดเยี่ยม ที่ช่วยสนับสนุนอีคอมเมิร์ซไทยให้เติบโต ขับเคลื่อนธุรกิจออนไลน์ให้ก้าวไปในอนาคตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  ซึ่งงานนี้จัดขึ้นโดย สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thai E-Commerce Association) และ Clicknext ก็ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์สนับสนุน และร่วมเป็นกรรมการตัดสินรางวัลในงานอันทรงเกียรติครั้งแรกของประเทศไทยด้วย…

Loading