เมื่อเทคโนโลยีได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของการดำเนินชีวิต และการทำงานในแต่ละวันของเราไปแล้ว การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ จะช่วยให้เราสามารถปรับตัว และนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุก ๆ ด้าน ทั้งประโยชน์ในการดำเนินชิวิตประจำวัน การทำงาน และการดำเนินธุรกิจ และจะทำให้เราไม่ตกเทรนด์ค่ะ หลาย ๆ บริษัท ได้นำเครื่องมือ…
เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านที่อยู่ในแวดวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องเคยได้ยินการพูดถึง Sprint ไม่มากก็น้อยเพราะตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) มีการคิดกระบวนการดำเนินงานหลายรูปแบบ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการทำงานในรูปแบบ Sprint นั่นเอง ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับคำว่า Sprint มากขึ้น
Sprint คือ อะไร?
ถ้าจะให้เปรียบเทียบให้เห็นภาพมากขึ้น Sprint คือการทำงานในรูปแบบการสร้างจังหวะเวลาของงานในลักษณะ Time Boxed เป็นการวางแผนงานให้อยู่ในกรอบของระยะเวลา ซึ่งจะไม่สามารถย่อหรือขยายกรอบเวลาได้
หลายท่านอาจจะมีคำถามว่าแต่ถ้างานไม่เสร็จล่ะ? สุดท้ายงานก็ต้องเลื่อนไปอยู่ดีไม่ใช่หรอ …
การทำงานแบบ Sprint นั้น ช่วงแรกอาจจะเกิดปัญหาได้บ้างแต่เมื่อทีมมีการทำงานไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว เมื่อทีมเริ่มจับจังหวะการทำงานได้ การทำงานในรูปแบบ Sprint ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง เมื่อเรามองเห็นภาพตรงกันภายในทีม เหตุการของการประเมินงานก็จะตามมาด้วยความที่ว่า งานไหนบ้างที่มีโอกาสไม่ทัน เราอาจจะแจ้งทีม ให้ช่วยนำส่วนนี้ไปช่วยทำได้อีกด้วย
Sprint Planning ?
เมื่อเรารู้จักกับ Sprint เรียบร้อยแล้วเมื่อเราจะเริ่มกระบวนการทำงานในรูปแบบของ Sprint งานนั้น เราก็ต้องมีการวางแผน Sprint ซึ่งหลายท่านคงเคยพบเจอกับคำว่า Sprint Planning นั่นเอง
การทำ Sprint Planning นั้นการเริ่มต้นสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เรามี Wishlist ในใจแล้วหรือยังว่าสิ่งที่ต้องการมีอะไรบ้างที่จะให้ Developer ทำออกมา เมื่อเรามี Wishlist แล้ว เราก็จะมาทำ Sprint Planning กันซึ่งโดยปกติแล้วการทำ Sprint Planning จะใช้เวลา Relate กับ Timebox ของ Sprint ซึ่งโดยปกติแล้ว Sprint จะมี Timebox ประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งเราก็จะใช้เวลาทำ Sprint Planning กันประมาณ 2 ชั่วโมงนั่นเอง
Sprint Backlog ?
เมื่อได้ทำ Sprint Planning กันแล้วหลังจากนั้น Product Owner (PO) ผู้ที่มีบทบาทสำคัญของการทำงานแบบ Sprint จะต้องมาทำ Sprint Backlog ให้กับทีม Sprint Backlog คือการกำหนดงานต่างๆ เป็นชิ้นๆ ลงไปใน Sprint งาน โดยที่ Product Owner (PO) จะต้องให้ความต้องการ เขียนอธิบายเรื่องราวของ สิ่งที่ต้องการลงไปใน ชิ้นงานนั้นๆ เพื่อให้ Developer เข้าใจสิ่งที่ Product Owner (PO) ต้องการ
เมื่อวางชิ้นงานเสร็จแล้ว ทางทีมจะต้องประเมิน effort ของงานชิ้นต่างๆ ก่อนเริ่ม Sprint ให้เรียบร้อยก่อนเพื่อความชัดเจนของระยะเวลา และความเหมาะสมของ Timebox ของ Sprint นั้นๆ
หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่าแล้วเมื่องานเสร็จแต่ละ Sprint เราจะ communicate กันอย่างไร ?
Sprint Review มันคืออะไรนะ ?
การทำ Sprint review หรืออีกชื่อหนึ่ง Sprint demo เป็นขึ้นตอนก่อนการสิ้นสุด Sprint เป็นการที่ Developer จะนำงานที่ทำเสร็จแล้วใน Sprint นั้นๆมานำเสนอเกี่ยวข้องเพื่อทำการพูดคุยและประเมินกันว่า ทำอะไรไปบ้าง เหลืองานอะไรบ้าง และ เพื่อให้ Product Owner (PO) มองเห็นภาพว่า Sprint ต่อไปต้องปรับตรงส่วนไหน เพื่อให้การดำเนินงานผ่านไปอย่างรายรื่นที่สุด และเกิดปัญหาน้อยที่สุดนั่นเอง
Summary
ตอนนี้เรามาถึงบทสรุปกันแล้ว หวังว่าบทความนี้จะพอมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับหลายท่านที่ยังไม่ทราบหรือ ยังไม่เข้าใจกับคำว่า Sprint คืออะไร ? นะครับ จริงๆแล้วในโลกของบทความ และ ความหมายของ Sprint ยังมีอีกมากมายให้หลายท่านได้ค้นหาเพิ่มเติม อย่างเช่นที่เจ้าของบทความได้ไปหาความรู้มานะครับ ตามด้านล่างนี้